Pages

Sunday, August 23, 2020

เร่งต่อเรือไฟฟ้าให้บริการคลองผดุงฯ ยกเป็นต้นแบบเรือโดยสารของกทม. - เดลีนีวส์

apaksulan.blogspot.com
เมื่อปี 2561 กรุงเทพมหานคร(กทม.) ได้เริ่ม โครงการทดลองเดินเรือในคลองผดุงกรุงเกษม โดยให้บริการเดินเรือโดยสารเป็นเรือไฟฟ้า 1 ลำ เรือดีเซล 1 ลำ และเรือของสำนักการระบายน้ำ เป็นการให้ บริการฟรีรวม ระยะทาง 5 กม.11 ท่าเรือ ได้แก่ ท่าเรือสถานีรถไฟหัวลำโพง ท่าเรือหัวลำโพง ท่าเรือนพวงศ์ ท่าเรือยศเส ท่าเรือกระทรวงพลังงาน ท่าเรือแยกหลานหลวง ท่าเรือนครสวรรค์ ท่าเรือราชดำเนินนอก ท่าเรือประชาธิปไตย ท่าเรือเทเวศร์ และท่าเรือตลาดเทวราช ครอบคลุมพื้นที่ 4 เขต ได้แก่ เขตพระนคร เขตดุสิต เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตปทุมวัน

มีจุดเชื่อมต่อการเดินทาง จำนวน 4 จุด ได้แก่ จุดที่ 1 ต่อเรือด่วนเจ้าพระยา ที่ท่าเรือตลาดเทวราช จุดที่ 2 ต่อเรือแสนแสบ ที่ท่าเรือกระทรวงพลังงาน จุดที่ 3 ต่อรถไฟชานเมือง ที่ท่าเรือสถานีรถไฟหัวลำโพง และจุดที่ 4 ต่อรถไฟฟ้า MRT ที่ท่าเรือสถานีรถไฟหัวลำโพง โดยให้บริการเดินเรือใน วันจันทร์-วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 06.00-19.00 น. วันเสาร์–วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00-19.00 น. ความถี่ในการเดินเรือประมาณ 30 นาทีต่อลำ มีบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด(KT) เป็นผู้ดำเนินโครงการ ซึ่งจากการสำรวจพบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มคนทำงานและนักเรียนที่ใช้เชื่อมต่อกับขนส่งสาธารณะอื่น ๆ มีผู้ใช้บริการเฉลี่ยต่อเดือน 10,000 คน

นายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า การให้บริการเดินเรือในคลองผดุงกรุงเกษม นั้นเป็นนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ให้ความสำคัญในการเดินเรือในคลองและต้องเป็นการเดินเรือที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย โครงการพัฒนาระบบการเดินเรือในคลองผดุงกรุงเกษมด้วยเรือไฟฟ้าในครั้งนี้ จึงถือเป็นต้นแบบของการใช้เรือไฟฟ้าในการให้บริการเรือโดยสารของกรุงเทพมหานครในอนาคต กรุงเทพมหานครจึงจัดหาเรือมาเพิ่มอีก จำนวน 7 ลำ โดยมอบหมายให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด เป็นผู้ดำเนินโครงการ  คาดว่าการต่อเรือไฟฟ้าจะแล้วเสร็จทั้ง 7 ลำ ในเดือน พ.ย.นี้ กำหนดนำมาให้บริการเดินเรือเต็มรูปแบบได้ต้นเดือน ธ.ค.เป็นต้นไป โดยช่วงเดือ นต.ค.น่าจะทยอยส่งมอบได้ก่อน 2-3 ลำ ซึ่งเมื่อเปิดเดินเรือเต็มรูปแบบจะทำให้มีเรือบริการทั้ง 8 ลำ สำรอง 1 ลำ

สำหรับคุณสมบัติของเรือไฟฟ้าทั้ง 7 ลำที่กรุงเทพมหานครจะนำมาให้บริการนั้น นอกจากจะเป็นเรือที่ใช้พลังงานไฟฟ้าแล้ว ตัวเรือยังมีน้ำหนักเบาทนทาน ตัวเรือมีอายุการใช้งานประมาณ 20 ปี โดยจะใช้เวลาชาร์จไฟประมาณ 4 ชั่วโมง สามารถให้บริการได้ 5 ชั่วโมงหรือประมาณ 5 เที่ยว รวมถึงมีตัวระบบพลังงานสำรองที่เป็นพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์เซลล์) สามารถวิ่งได้อีก 1 ชั่วโมง 30 นาที โดยเรือไฟฟ้า 1 ลำจะบรรทุกผู้โดยสารได้ 30 ที่นั่ง และมีพื้นที่สำหรับวีลแชร์ 1 ที่ โดยมีตัวไฮดรอลิกสำหรับยกวีลแชร์ด้วย

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันผู้ใช้บริการส่วนใหญ่จะนั่งเรือโดยสารมาเชื่อมต่อกับระบบขนส่งสาธารณะอื่น ใน อนาคตจึงพัฒนาให้เป็นเส้นทางท่องเที่ยวสำหรับครอบครัว เนื่องจากมีสถานที่ท่องเที่ยวในเส้นทาง อาทิ ตลาดนางเลิ้ง ตลาดเทวราช ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร หอสมุดแห่งชาติ และยังสามารถต่อเชื่อมการเดินทางกับเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณท่าเรือเทเวศร์ สำหรับการจัดเก็บค่าโดยสารนั้น หลังจากทดลองให้บริการแล้วจะมีการเก็บค่าโดยสาร ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าอัตราจะอยู่ที่ 10 บาท ตลอดสาย ทั้งนี้จะต้องหารือกับทางคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องก่อน

นอกจากนี้กรุงเทพมหานคร ยังมีโครงการเดินเรือในคลองแสนแสบจากวัดศรีบุญเรืองไปมีนบุรี ซึ่งเป็นการเดินเรือเชื่อมต่อจากของเอกชนที่เดินเรือเข้าเมือง โดยเป็นการเดินเรือเพื่อรองรับผู้ใช้บริการในแถบกรุงเทพตะวันออกเพื่อจะได้เข้าเมืองง่ายขึ้น ขณะนี้มีงบประมาณในการต่อเรือแล้วโดยจะเป็นเรือไฟฟ้าเช่นกัน แต่จะต้องมีการปรับปรุงท่าเรือใหม่ แทนท่าเรือที่ชำรุด

นายเฉลิมชัย​ เขียวประดิษฐ์ รองกรรมการผู้อำนวยการ​ กลุ่ม​บริหาร​ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด กล่าวว่า จากการสำรวจความพึงพอใจของผู้โดยสารเรือไฟฟ้าที่ผ่านมา พบว่าผู้โดยสารมีความพึงพอใจมาก เพราะไม่มีมลพิษทางเสียงและกลิ่น รวมทั้งยังลดต้นทุนในเรื่องเชื้อเพลิงได้มาก โดยค่าน้ำมันในการเดินเรือ 1 ปี ใช้งบประมาณที่ 1 ล้านบาทต่อลำ เมื่อใช้เรือไฟฟ้ามีค่าไฟฟ้าเพียง 240,000 บาทต่อลำ สำหรับเรือที่ต่อใหม่ทั้ง 7 ลำนี้ ได้มีการปรับขนาดเรือให้เหมาะสมกับการเดินทางในคลองผดุงกรุงเกษมที่มีสะพานหลายจุดและตัวสะพานต่ำ

โดยตัวเรือมีความยาว 9.90 ม. ความกว้าง 2.98 ม. ผลิตจากวัสดุไฟเบอร์กลาส เครื่องยนต์ของเรือใช้มาตรฐานเดียวกัน ขนาด 10 กิโลวัตต์ จำนวน 2 เครื่องยนต์ เทียบเท่าเครื่องยนต์ 20 แรงม้า และแบตเตอรี่ Li-on NMC ขนาดรวม 42 กิโลวัตต์ มีมาตรฐานป้องกันฝุ่นและน้ำ IP67 ทั้งตัวเครื่องยนต์และแบตเตอรี่ นอกจากนี้ยังมีการนำระบบพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้โดยจะทำการติดแผงโซลาร์เซลล์ จำนวน 12 แผงต่อลำ เพื่อใช้เป็นระบบไฟสำรองช่วยลดการใช้พลังงานและเพิ่มระยะการเดินทางของเรือให้มากขึ้นด้วย โดยจะควบคุมความเร็วไม่เกิน 10 กม./ชั่วโมง ตามระเบียบของกรมเจ้าท่า.


 

Let's block ads! (Why?)



"ต่อ" - Google News
August 24, 2020 at 11:00AM
https://ift.tt/2QiRDQD

เร่งต่อเรือไฟฟ้าให้บริการคลองผดุงฯ ยกเป็นต้นแบบเรือโดยสารของกทม. - เดลีนีวส์
"ต่อ" - Google News
https://ift.tt/2TWExL0

No comments:

Post a Comment