Pages

Monday, August 3, 2020

ถอดบทเรียน "โก ยูมิน" ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจจบชีวิตของคนในเกาหลีใต้ - ฐานเศรษฐกิจ

apaksulan.blogspot.com

กรณีศึกษาโศกนาฏกรรมปัญหาคนดังเกาหลี หลัง "โก ยูมิน" “นักตบสาวเกาหลีใต้" โดน “บูลลี่” หนัก

ปัญหาฆ่าตัวตายคนดังเกาหลี: บทเรียนที่น่าศึกษา

เกาหลีใต้ นับเป็นประเทศที่น่าจับตามองจากหลายประเทศในโลก โดยเฉพาะความสามารถอันโดดเด่นในการเป็นผู้ส่งออกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของเอเชีย อย่างเช่น ละครเกาหลี เพลง กลายเป็นกระแสเกาหลีหรือคลื่นเกาหลี (Korean Wave) แทรกเข้าไปในสังคมเอเชียและสังคมโลก ความโดดเด่นในการขึ้นมาเป็นผู้นำแทนคลื่นอเมริกาและญี่ปุ่น จึงเป็นที่จับตามองของคนทั่วโลก อย่างไรก็ตามเหรียญมีสองด้านเสมอ ภายใต้ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่นั้น มีอะไรเป็นปมซ่อนอยู่

เมื่อไม่นานมานี้มีข่าวที่พาดหัวผ่านสื่อสารมวลชนและสื่อมีเดียออนไลน์ ต่างได้รับความใจต่อผู้คนเป็นวงกว้าง เพราะเป็นข่าวของคนดังหรือเซเลปเกาหลี เป็นไอดอลของกลุ่มคนรุ่นใหม่ทั่วทั้งเอเชีย รวมถึงประเทศไทยด้วย ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็มาเปิดการแสดงที่ประเทศไทย มีแฟนคลับติดตามมากมาย ถือเป็นส่วนหนึ่งของคลื่นเกาหลีหรือกระแสเกาหลีในปัจจุบัน อันเป็นผลต่อความสำเร็จอันหนึ่งของการส่งออกด้านวัฒนธรรมเกาหลีไปทั่วทุกภูมิภาคของโลก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ช็อก “โก ยูมิน” นักวอลเลย์บอลเกาหลี จบชีวิตตัวเองในบ้านพัก  


ความตายของ “จงฮยอน” สะท้อนด้านมืดให้สังคมโลกได้ตระหนัก

ข้อความข้างต้นคือพาดหัวข้อข่าวสำนักข่าวบีบีซี การจากไปอย่างไม่คาดฝันของ คิม จงฮยอน นักร้องนำวงชายนี่ (SHINee) ผู้เป็นหนึ่งในตำนานของวงการเค-ป็อปจากเกาหลีใต้ เป็นอีกโศกนาฏกรรมหนึ่งที่อาจมีสาเหตุมาจากการฆ่าตัวตาย เพราะอาการเครียดและซึมเศร้ารุนแรง ซึ่งทำให้ประเด็นอื้อฉาวเรื่องความกดดันที่มีต่อตัวศิลปิน อันเนื่องมาจากการควบคุมบังคับอย่างเข้มงวดของค่ายเพลงหลายแห่งของเอเชีย กลับมาอยู่ในความสนใจของบรรดาแฟนเพลงทั่วโลกอีกครั้ง

จงฮยอนได้ฝากข้อความอำลาก่อนจบชีวิตไว้กับเพื่อนสนิทว่า "ข้างในตัวตนของผมแตกสลาย...ชีวิตแบบคนที่มีชื่อเสียงโด่งดังนั้นไม่ใช่สำหรับผมเลย ช่วยบอกทีเถิดว่าที่ผ่านมาผมทำได้ดีแล้ว ช่วยบอกทีว่าผมทำงานหนักและมันก็เพียงพอแล้ว นี่คือคำอำลาสุดท้ายจากผม"

ข้อความที่จงฮยอนฝากไว้ สะท้อนถึงปัญหาเรื้อรังของสังคมเกาหลีใต้ที่มีการแข่งขันกันสูง แรงกดดันให้ไขว่คว้าความสำเร็จในการงานอาชีพหรือการศึกษาเป็นสาเหตุให้เกาหลีใต้มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงอันดับต้นๆของโลก ในช่วงตลอดระยะหลายปีตั้งแต่เปิดประเทศจากเกษตรกรรมไปสู่ประเทศอุตสหกรรม เป็นผู้นำเทคโนโลยียุคใหม่ของโลกในปัจจุบัน ซึ่งผลของการพัฒนาประเทศอย่างก้าวกระโดด ย่อมส่งผลให้เกิดความแตกต่างทางชนชั้นระหว่างความรวยและความจน ที่มีช่องว่างสูง กลายเป็นแรงกดดันต่อการดำเนินชีวิตและการปรับตัวของคนในประเทศไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ

สำหรับวงการบันเทิงแล้ว เป็นที่รู้กันว่าศิลปินเค-ป็อป และศิลปินของอีกหลายค่ายเพลงในเอเชีย ต้องใช้ชีวิตอยู่ภายใต้แรงกดดันมหาศาลจากการแข่งขันในวงการ รวมทั้งต้องทนต่อการควบคุมบังคับจากต้นสังกัดอย่างเข้มงวด ไม่ว่าจะเป็นการฝึกฝนอย่างหนัก ไปจนถึงการกินอยู่ การแต่งกาย การใช้โทรศัพท์ การตัดสินใจทำศัลยกรรมความงาม หรือแม้กระทั่งการคบหาเพื่อนหรือมีคนรัก ก็ไม่อาจเล็ดลอดสายตาและคำสั่งบงการจากค่ายเพลงไปได้ ส่วนตัวศิลปินเองนั้นกลับมีรายได้ตอบแทนเป็นเพียงเงินเดือนจำนวนไม่มาก

เมื่อปี 2009 นักแสดงสาว ปัก จินฮี (Park Jin-hee ) ได้เขียนไว้ในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทของเธอว่า ศิลปินเกาหลีใต้ถึง 40% ต่างเคยคิดฆ่าตัวตายกันมาแล้วอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต เนื่องมาจากชีวิตที่ขาดความเป็นส่วนตัว ถูกกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ มีรายได้ไม่แน่นอน รวมทั้งเกิดความกลัวว่าผู้คนทั่วไปหรือผู้ใหญ่ในวงการจะไม่ชื่นชมความสามารถของตนอีกต่อไปด้วย

เกาหลีเป็นประเทศที่มีอัตราฆ่าตัวตายสูงอันดับต้นของโลก

ข้อมูลการเฝ้าระวังปัญหาฆ่าตัวตายในโลกขององค์การอนามัยโลก ปี ค.ศ. 2018 ประเทศที่มีอัตราฆ่าตัวตายสูงสุด 5 อันดับแรกคือ

1.ลิธัวเนีย อัตราฆ่าตัวตาย 31.9 ต่อประชากรแสนคน

2. รัสเซีย อัตราฆ่าตัวตาย 31.0 ต่อประชากรแสนคน

3.ประเทศกุยานา ประเทศเล็กๆในแถบอเมริกาใต้ มีอัตราฆ่าตัวตายอยู่ที่ 29.2 ต่อประชากรแสนคน

4. เกาหลีใต้ อัตราฆ่าตัวตาย 26.9 ต่อประชากรแสนคน ถือว่าเกาหลีเป็นประเทศที่มีอัตราฆ่าตัวตายสูงสุดในเอเชีย

5. เนปาล อัตราฆ่าตัวตาย 26.3 ต่อประชากรแสนคน ในขณะที่ประเทศไทยมีอัตราฆ่าตัวตายอยู่ที่ 6.2 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งถือเป็นค่าเฉลี่ยที่ไม่สูง เนื่องจากอัตราฆ่าตัวตายโลกเฉลี่ยเท่ากับ 10.5 ต่อประชากรแสนคน (WHO, 2018)

สาเหตุการฆ่าตัวตาย

จากข้อมูลองค์การอนามัยโลกในช่วงตลอดทศวรรษที่ผ่านมา เกาหลีเคยเป็นแชมป์อันดับหนึ่งของประเทศที่มีอัตราฆ่าตัวตายสูงสุดในโลก ระหว่างปี ค.ศ. 2010-2014 จัดอยู่ในกลุ่มพื้นที่สีแดงบนแผนที่ภูมิสารสนเทศฆ่าตัวตายสูง คู่คี่กับประเทศเพื่อนบ้านเช่นญี่ปุ่น โดยในปี ค.ศ 2015 พบว่าเกาหลีเป็นประเทศที่มีอัตราฆ่าตัวตายอยู่ในอันดับสามของโลก เท่ากับ 29.8 ต่อประชากรแสนคน ขณะที่ปีล่าสุดแม้ว่าจะมีอัตราฆ่าตัวตายลดลง แต่เกาหลีใต้ยังเป็นประเทศที่มีอัตราฆ่าตัวตายอยู่ในห้าอันดับแรกของโลก ทั้งนี้จากข้อมูลรายละเอียดพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาฆ่าตัวตายของประชากรเกาหลี เกี่ยวข้องกับสองประเด็นหลักคือ ปัจจัยด้านครอบครัว (Family Problem) และ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจสังคม (Socioeconomic factors) อันเป็นแรงกดดันสังคม (Social Pressure) นำไปสู่ความเจ็บป่วยทางจิตเวชอย่างรุนแรง ในขณะที่ปัจจัยที่เกี่ยวข้องของประเทศทั่วไปอยู่ที่ ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่นำไปสู่ความเจ็บป่วยร้ายแรงทางจิตเวช ทำให้เป็นสาเหตุการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประชากรโลก โดยค่าเฉลี่ยองค์การอนามัยโลก อัตราฆ่าตัวตายของโลกอยู่ที่ 10.5 ต่อประชากรแสนคน (WHO World suicide rates, 2016)

จากการศึกษาของ Sang-Uk Lee และคณะ จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล เกาหลีใต้ ได้รับทุนจากสถาบันวิจัยของหน่วยงานกลางของชาติด้านสุขภาพจิต ศึกษาวิจัยเรื่อง Changing trends in suicide rates in South Korea from 1993 to 2016: a descriptive study เผยแพร่ในวารสาร BMJ เมื่อ 28 กันยายน ปี 2561 ที่ผ่านมา พบว่า แนวโน้มปัญหาฆ่าตัวตายในเกาหลีตั้งแต่ปี 2010-2016 มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 5.5 โดยพบมากในเพศชาย ในขณะที่ข้อมูลช่วงปี 2009-2016 พบว่าเพศหญิงมีแนวโน้มฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 7.5 ช่วงอายุที่พบการฆ่าตัวตายสูงสุดคือช่วงวัย 30-49 ปี ซึ่งถือเป็นกลุ่มวัยทำงาน อยู่ในช่วงการสร้างฐานะครอบครัวและการแต่งงาน สอดคล้องกับข้อมูลองค์การอนามัยโลกที่กล่าวว่า ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความรุนแรงของปัญหาฆ่าตัวตายของเกาหลีใต้คือ ปัญหาครอบครัว เศรษฐกิจ และแรงกดดันจากสังคม

กล่าวโดยสรุป

จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นนี้พอจะอนุมานได้ว่า ปัญหาการฆ่าตัวตายของเกาหลีใต้ ยังถือว่ามีความรุนแรง อันเนื่องมาจากแรงกดดันในสังคม ความคาดหวังของครอบครัว สังคม ทำให้บุคคลไม่สามารถผ่านวิกฤตในชีวิตได้ ตัวอย่างของการฆ่าตัวตายของคนดังเกาหลีคงพอจะสะท้อนสภาพของปัญหาได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม บนความสำเร็จทางด้านการส่งออกทางวัฒนธรรมที่สวยหรู บางครั้งไม่ได้มาอย่างง่ายโดยปราศจากอุปสรรค นี่คงจะเป็นบททดสอบการพัฒนาประเทศอย่างก้าวกระโดดและความสำเร็จที่งดงามไม่ได้มาง่ายๆนั่นเอง สะท้อนด้านมืดให้สังคมได้เรียนรู้จากความสูญเสียที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาเป็นบทเรียนในการส่งเสริมป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ที่ยังคงเป็นภัยคุกคามด้านสุขภาพจิตและจิตเวช นำไปสู่การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทำให้เกิดความสูญเสียทั้งด้านเศรษฐกิจ ครอบครัว และสังคม ทั้งที่สามารถป้องกันได้

แหล่งข้อมูล

https://ift.tt/30kxSxX

https://ift.tt/2DmApNm

https://ift.tt/3fleeX2

ที่มา:กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข


Let's block ads! (Why?)



"ต่อ" - Google News
August 03, 2020 at 08:31AM
https://ift.tt/2Pgbyzn

ถอดบทเรียน "โก ยูมิน" ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจจบชีวิตของคนในเกาหลีใต้ - ฐานเศรษฐกิจ
"ต่อ" - Google News
https://ift.tt/2TWExL0

No comments:

Post a Comment