เอกชนสะท้อนมุมมองศึกเลือกตั้งผู้นำสหรัฐฯ ชี้หาก “ทรัมป์” หรือ “ไบเดน”ชนะ ล้วนส่งผลกระทบต่อโลกและต่อไทยหลากหลายมิติ เผยระฆังยกแรกทรัมป์ยังเป็นรอง โอกาสหลุดเก้าอี้สูง
ปี่กลองโหมโรงศึกเลือกตั้งผู้นำสหรัฐฯ ครั้งใหม่ที่จะมีขึ้นในวันที่ 3 เดือนพฤศจิกายน 2563 กำลังดังขึ้น ทั่วโลกจับตามอง “โดนัลด์ ทรัมป์” ผู้นำพญาอินทรีย์คนปัจจุบันจะยังได้รับความไว้วางใจให้นั่งเก้าอี้ประธานาธิบดีสมัยที่ 2 ต่อไปอีก 4 ปีหรือไม่ หรือจะเพลี่ยงพล้ำโดนหมักน็อก เปิดทางให้ “โจ ไบเดน”ผู้ท้าชิงจากพรรคเดโมแครตผงาดขึ้นมาครองตำแหน่ง
นายบัณฑูร วงศ์สีลโชติ รองประธานคณะกรรมการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย วิเคราะห์ผ่าน “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า หากพิจารณาจากผลในอดีต ประธานาธิบดีที่ได้รับการยอมรับในผลงานเกิน 50% จะชนะเลือกตั้ง ในอดีต ประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์ได้เพียง 40% แพ้เลือกตั้งอย่างถล่มทลาย สำหรับทรัมป์ได้รับการยอมรับในเดือนเมษายน 47.4% แต่จากนั้นคะแนนก็ลดลงไปเรื่อย ๆ เช่นเรื่องการแก้ไขปัญหาโควิด-19 เขาได้รับการยอมรับเรื่องการจัดการเพียง 43% เรื่องการจัดการปัญหาตำรวจทำคนสีผิวเสียชีวิตได้รับการยอมรับเพียง 35%
“ทางเดียวที่จะทำให้ทรัมป์ชนะคือต้องได้รับคะแนนนิยมกลับมาเกิน 50% ซึ่งเป็นไปได้ยากมาก เว้นแต่เศรษฐกิจจะฟื้นคืนมากจนทำให้เขาได้รับคะแนนนิยมสูงขึ้นอย่างฉับพลัน จึงพอสรุปได้ว่าทรัมป์จะแพ้เลือกตั้ง”
-ผลงานความสำเร็จทรัมป์รอบ 4 ปี
ทรัมป์ลดภาษีเงินได้ของบริษัทเหลือเพียง 11.3%และภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา สร้างงานด้วยการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐฯในการปรับปรุงสาธารณูปโภคให้คนอเมริกันจำนวนมาก ลดอัตราว่างงานอย่างมากเหลือเพียง 3.5% ก่อนเกิดโควิด 19
สิ่งที่ทรัมป์ทำได้ดีคือการเพิ่มราคาหลักทรัพย์ในตลาดหุ้นด้วยการบีบให้เฟดลดดอกเบี้ยทำให้ต้นทุนการนำเงินมาเสี่ยงในตลาดหุ้นมีต้นทุนต่ำ เมื่อเกิดโควิด-19 ให้เฟดรับซื้อหุ้นกู้บริษัทต่าง ๆ และให้เฟดอัดเงินเข้าไปในตลาดทุนเพื่อซื้อหุ้น ลดอัตราดอกเบี้ยใกล้ 0 ทำให้เงินไหลเข้าตลาดทุนจำนวนมาก ทำให้ตลาดทุนไม่สะท้อนภาวะเศรษฐกิจที่แท้จริง
-ผลงานที่ล้มเหลว
ทรัมป์ได้ประกาศที่จะลดการขาดดุลทางการค้ากับโลก แต่การขาดดุลทางการค้ากลับเพิ่มขึ้นเป็น 779 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2561 และ 984 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2562 ซึ่งผลงานกลับออกมาตรงกันข้าม แต่พอเกิดโควิด-19 อัตราคนว่างงานกลับเพิ่มขึ้นมากถึง 19.7% ในเดือนเมษายน แต่หลังการกลับมาเปิดให้คนอเมริกันกลับมาทำงาน อัตราว่างงานก็ลดลงเหลือเพียง 13.3% .เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
นโยบายการค้าระหว่างประเทศของทรัมป์เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลก เนื่องจากใช้กำแพงภาษีกีดกันสินค้านำเข้า แต่ก็ได้ทำอย่างไร้จุดมุ่งหมาย มักเป็นไปตามอารมณ์ ทรัมป์ขัดขวางมิให้มีผู้พิพากษาในการพิจารณาข้อพิพาททางการค้าในWTO เนื่องจากได้ตั้งกำแพงภาษีสินค้าขัดต่อระเบียบของ WTO ทำให้การทำงานของ WTO ไม่มีประสิทธิผล ลดบทบาทไปจนทำให้ผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก (WTO) ลาออกก่อนครบวาระ 1 ปี
ทรัมป์ไม่สนับสนุนการค้าโลก ไม่สนับสนุนความตกลงพหุภาคี ทรัมป์ยังประกาศสงครามทางการค้ากับจีน ถอนตัวออกจากความตกลง TPP ที่อดีตประธานาธิบดีโอบามาทำไว้ ถอนตัวออกจากความตกลงปารีสเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ถอนตัวออกจากความตกลงนิวเคลียร์ที่นานาชาติทำกับอิหร่าน ความตกลงอาวุธนิวเคลียร์ที่ทำกับรัสเซีย
-หากทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง ผลต่อโลกและต่อไทย
หากชนะเลือกตั้ง เชื่อว่าทรัมป์จะดีกับจีนมากกว่าที่เป็นอยู่ เพราะที่ผ่านมาเป็นแผนเพื่อชนะการเลือกตั้ง ส่วนตัวทรัมป์รู้ว่าการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯได้ผูกพันกันมากเกินกว่าจะตัดขาดจากกันได้ ส่วนนโยบายไม่สนับสนุนการค้าเสรีระหว่างนานาประเทศจะคงไว้ เนื่องจากความตกลง USMCA(นาฟต้าใหม่) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2563 ภาษีนำเข้ารถยนต์นั่งจะถูกปรับให้สูงขึ้น เพื่อให้รถที่ผลิตใน 3 ประเทศได้แก่ สหรัฐฯ แคนาดา และเม็กซิโกสามารถแข่งขันได้กับรถยนต์นำเข้าจากต่างประเทศที่มีต้นทุนถูกกว่า
โจ ไบเดน ผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ
-หากทรัมป์แพ้ และโจ ไบเดนได้เป็นผู้นำคนใหม่
กรณีนี้สหรัฐฯจะกลับมาร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปวิฟิก(CPTPP) ทันทีเพราะเป็นความตกลงที่โอบามาภูมิใจ และตัวเขาเอง(โจ ไบเดน)ก็เป็นรองประธานาธิบดีในขณะนั้น ความตกลงนี้มีเป้าหมายกีดกันจีน โดยจะส่งผลกระทบจีนมากกว่าที่ทรัมป์ทำสงครามการค้ากับจีนมาตลอด 3 ปี เนื่องจากทำให้เกิด trade diversion ทำให้ผู้นำเข้าจะหันมานำเข้าจากประเทศสมาชิกแทนเพราะมีอัตราภาษีศูนย์ การลงทุนจะหนีออกจากจีนมากกว่าที่ทรัมป์ทำกับจีน และนี่คือเหตุผลที่ทำให้จีนประกาศสนใจเข้าร่วม CPTPP ในเวลานี้ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งเพราะญี่ปุ่นยังเป็นผู้นำในความตกลงนี้ หากทรัมป์แพ้โอกาสของจีนจะร่วมด้วยก็จะหมดไป
-หากสหรัฐฯกลับเข้าร่วม CPTPP จะรื้อความตกลงที่มีผลบังคับใช้แล้วหรือไม่
สหรัฐฯจะดึงความตกลงเดิมมาใช้ แต่เนื่องจากกรณีนี้สหรัฐฯเป็นประเทศที่เข้ามาใหม่ แรงต่อรองจะน้อยลง ทำให้สมาชิกเดิมสามารถเรียกร้องผ่อนผันเรื่องต่าง ๆ เช่นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มข้น และอื่น ๆ กว่า 20 เรื่องที่เอาออกไปเพราะสหรัฐฯไม่เข้าร่วม มีโอกาสที่จะเรียกร้องให้คงไว้ซึ่งความตกลง CPTPP ไปก่อน แทนที่จะนำ TPP ที่มีข้อบทความตกลงกว่า 20 เรื่องกลับมา
-หากสหรัฐฯกลับเข้าร่วม CPTPP ผลต่อไทยหากไม่เข้าร่วม
นี่คือเหตุผลที่ไทยควรร่วม CPTPP ทันที หากรอให้สหรัฐฯ เข้ามาก่อน ผลร้ายจะมีมากกว่าดี ไทยอาจจำต้องเลือกไม่ร่วม ไทยก็เสียตลาดสหรัฐฯไปโดยสิ้นเชิง เพราะผู้ประกอบการแข่งขันไม่ได้ แต่หากจะเข้าร่วมหลังสหรัฐฯเข้ามาแล้ว แรงคัดค้านจากภาคประชาสังคมจะรุนแรง จนทำให้ไทยร่วมไม่ได้
"ต่อ" - Google News
July 04, 2020 at 02:34PM
https://ift.tt/3f5uz2E
“ทรัมป์”ไปต่อ-หลุดเก้าอี้ผู้นำมะกัน ผลต่อไทย? - ฐานเศรษฐกิจ
"ต่อ" - Google News
https://ift.tt/2TWExL0
No comments:
Post a Comment